บริการเทคโนธานี

“ภาชนะจากวัสดุธรรมชาติ” ทดแทนการใช้พลาสติก เพิ่มมูลค่าวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร

show image
Link
หมดเขต
Video
Please select a module

         

ภาชนะวัสดุธรรมชาติ 1 42d98

           กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)  สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) โดยศูนย์เชี่ยวชาญนวัตกรรมวัสดุ  ประสบผลสำเร็จวิจัยและพัฒนาภาชนะจากวัสดุธรรมชาติ  2 ผลงานวิจัย ได้แก่ ภาชนะใบไม้และภาชนะจากเยื่อพืช เพื่อเป็นวัสดุทดแทนการใช้พลาสติก ช่วยเพิ่มมูลค่าให้กับวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร ส่งเสริมการสร้างรายได้ให้กับชุมชนและวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม  ระบุเป็นผลงานรูปธรรมในการร่วมขับเคลื่อนนโยบายเศรษฐกิจ BCG

ภาชนะวัสดุธรรมชาติ 4 f102b

         “... วว. มุ่งเน้นการดำเนินงานวิจัยพัฒนาและบูรณาการด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม เพื่อสร้างคุณค่ามูลค่าเพิ่มให้กับเศรษฐกิจประเทศ  การเพิ่มมูลค่าวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรด้วยการพัฒนาเป็นภาชนะในรูปแบบต่างๆ ที่สามารถนำไปใช้กับชีวิตประจำวันจึงมีประโยชน์ทั้งในแง่ของสิ่งแวดล้อม การเพิ่มช่องทางการดำเนินธุรกิจและการประกอบอาชีพให้กับสังคม ภาชนะใบไม้และภาชนะจากเยื่อพืชมีข้อดีคือ ช่วยลดการใช้ภาชนะพลาสติกและโฟมสำหรับใส่อาหาร  ลดปัญหาสิ่งแวดล้อมจากการเผาขยะพลาสติกที่มีผลต่อสภาวะอากาศที่เป็นพิษในปัจจุบัน  นอกจากนี้ยังมีจุดเด่นที่น่าสนใจคือ ผลิตจากวัสดุธรรมชาติ  มีอายุการเก็บรักษาในที่แห้งได้มากกว่า 6  เดือน  โดยไม่เป็นเชื้อรา  จึงเป็นผลงานที่ตอบโจทย์สังคมผู้บริโภคในยุคนิวนอร์มอล  ทำให้คุณภาพชีวิตดีขึ้น  สะดวกและปลอดภัย ...” ศ. (วิจัย) ดร.ชุติมา  เอี่ยมโชติชวลิต ผู้ว่าการ วว. กล่าว

ภาชนะวัสดุธรรมชาติ 10 41481

           ขั้นตอนการผลิตภาชนะใบไม้และภาชนะจากเยื่อพืช   มีดังนี้  นำวัสดุธรรมชาติที่สามารถหาได้ในท้องถิ่นหรือสามารถทำการปลูกมาเป็นวัตถุดิบเริ่มต้น  โดยวัสดุธรรมชาติอาจจะอยู่ในรูปของใบ ที่มีลักษณะพิเศษ คือ เส้นกลางใบขนาดใหญ่และแข็งแรง เพียงพอที่จะเพิ่มความคงรูปและความแข็งแรงของภาชนะหลังการอัดขึ้นรูปได้ โดยสามารถนำมาอัดขึ้นรูปด้วยความร้อนได้เลย ไม่ต้องผ่านกระบวนการทำให้เป็นเยื่อก่อน เช่น  ใบทองกวาว (ใบจาน)  ใบตองตึง   ใบยาง เป็นต้น  ภาชนะที่ได้จะมีรูปทรงตามแม่พิมพ์ที่ขึ้นรูป เช่น จานก้นตื้น หรือชามก้นลึก ด้วยลักษณะของใบไม้ที่มีสารคิวตินเคลือบผิวใบอยู่ จะทำให้จานจากใบไม้ สามารถกันน้ำและของเหลวด้วยตัวของใบเอง โดยไม่ต้องเติมสารอื่นๆเข้าไป  โดยข้อดีของการใช้ใบไม้ คือ กระบวนการในการขึ้นรูปได้รวดเร็ว  ไม่ต้องใช้กระบวนการที่ซับซ้อน ประหยัดค่าใช้จ่าย อายุการเก็บรักษานานกว่า 6 เดือน (ใบทองกวาว และใบตองตึง) โดยไม่มีเชื้อราเกิดขึ้น (ถ้าเก็บในที่แห้ง)

ภาชนะวัสดุธรรมชาติ 9 38415

          ในส่วนของใบพืชที่เป็นใบขนาดเล็กหรือเป็นเส้นใย  เช่น  ใบหรือเส้นใยสับปะรด  ใยกล้วย  ใยผักตบชวา  เป็นต้น จำเป็นต้องผ่านกระบวนการทำเยื่อก่อน จากนั้นจึงจะสามารถนำมาอัดขึ้นรูปด้วยความร้อนได้   ข้อดีของภาชนะจากเยื่อพืช คือ ดูดซับน้ำมันได้ในกรณีที่ใส่ของทอด แต่ไม่สามารถกันน้ำได้ สามารถเคลือบผิวด้วยแผ่นฟิล์มพลาสติกสังเคราะห์ชนิดเทอร์โมพลาสติก ที่เป็นเกรดซึ่งใช้กับอาหารได้ เช่น ฟิล์มพอลิโพพิลีน  ฟิล์มพอลิเอทิลีน  เพื่อให้มีฟังชันก์การใช้งานเพิ่มมากขึ้น โดยฟิล์มดังกล่าวสามารถลอกออกและทิ้งแยกกับตัวจานจากเยื่อได้

          สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม  รับคำแนะนำปรึกษา รับบริการด้านวิทยาศาสตร์  เทคโนโลยีและนวัตกรรม หรือถ่ายทอดเทคโนโลยี ติดต่อได้ที่  ศูนย์เชี่ยวชาญนวัตกรรมวัสดุ  วว.  โทร. 0 2577 9000 ,0 2577 9439  โทรสาร  0 2577 9426  เว็บไซต์ www.tistr.or.th  อีเมล This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.  Line@TISTR>

  • Hits: 1389
เทคโนธานี คลอง 5

แอปพลิเคชั่นทั้งหมดของเทคโนธานี

ios app andriod app 

เทคโนธานี TECHNOTHANI เป็นหน่วยงานของรัฐที่จัดตั้งขึ้นเพื่อขับเคลื่อนการอุดมศึกษาไทย วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ไปสู่มาตรฐานในระดับสากล และเพิ่มอันดับความสามารถการแข่งขันในระดับนานาชาติอย่างยั่งยืน ไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อแสวงหากำไร หากท่านพบว่ามีข้อมูลใดๆ ที่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาปรากฏอยู่ในเว็บไซต์นี้ โปรดแจ้งให้ทราบ เพื่อดำเนินการแก้ปัญหาดังกล่าวโดยเร็วที่สุดต่อไป

© 2021 TECHNOTHANI, Office of the Permanant Secretary , Ministry of Higher Education, Science, Research and Innovation. ALL RIGHTS RESERVED.

ติดตามเราได้ที่   facebook twitter youtube

เทคโนธานี คลอง 5
© 2021 TECHNOTHANI, Office of the Permanant Secretary, Ministry of Higher Education, Science, Research and Innovation. ALL RIGHTS RESERVED.