นางอัจฉรา  เจริญสุข ผู้อำนวยการสถาบันมาตรวิทยาแห่งชาติ (มว.) และผู้ช่วยศาสตราจารย์จักราวุธ  มณีฤทธิ์ คณบดีคณะแพทย์ศาสตร์วชิรพยาบาล ปฏิบัติการแทนอธิการบดีมหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช ร่วมลงนามในบันทึกข้อตกลง (Memorandum of Agreement : MoA) ภายใต้ “โครงการพัฒนาศักยภาพผู้ตรวจประเมินภายในเพื่อความยั่งยืนในการรักษาระบบคุณภาพ ISO/IEC 17025 แก่โรงพยาบาลวชิรพยาบาล คณะแพทย์ศาสตร์วชิรพยาบาล มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช” โดยมีคณะผูบริหารและพนักงานของทั้งสองหน่วยงานร่วมเป็นสักขีพยานในพิธีลงนามดังกล่าว  การลงนามความร่วมมือในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อให้การรับรองความสามารถทางวิชาการด้านมาตรวิทยาทางการแพทย์ และพัฒนาศักยภาพผู้ตรวจประเมินภายใน  ในการรักษาระบบคุณภาพ ISO/IEC 17025 ให้แก่โรงพยาบาลวิชรพยาบาล คณะแพทย์ศาสตร์วชิรพยาบาล มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช  ซึ่งเป็นกลไกสำคัญในการสร้างความเชื่อถือว่าห้องปฏิบัติการของหน่วยงานได้รับการรับรองจากหน่วยรับรองที่เป็นที่ยอมรับในระดับชาติและนานาชาติ  มีขีดความสามารถในการให้บริการแก่ประชาชนที่มาใช้บริการได้อย่างถูกต้องแม่นยำ การลงนามดังกล่าวจัดขึ้น ณ ตึกพัชรกิติยาภา คณะแพทยศาสตร์วชิรพยาบาล มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช กรุงเทพฯ

DSC 3295 e4881

 

IMG 4915 fa6ca     IMG 4927 06335

 

IMG 5031 40e3e     IMG 5082 2 2d4aa

  • Hits: 621

 

CRMA2021 IMG01 72c34

วันที่ 17 พฤศจิกายน 2564 พลเอกหญิง สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินไปพระราชทานของที่ระลึกให้แก่หน่วยงานและสถาบันการศึกษาต่าง ๆ ที่ร่วมจัดงาน “วันนิทรรศการวิชาการ โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า 2564” ระหว่างวันที่ 16-17 พฤศจิกายน 2564 ณ อาคารโรงเลี้ยงนักเรียนนายร้อย โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า จังหวัดนครนายก จากนั้นได้เสด็จพระราชดำเนินทอดพระเนตรผลงานทางวิชาการ โดยมี นายจรัญ  ยะฝา  ผู้ช่วยผู้อำนวยการสถาบันมาตรวิทยาแห่งชาติ และพนักงานสถาบันมาตรวิทยาแห่งชาติ กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เฝ้ารับเสด็จ

“นิทรรศการวิชาการ โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า” จัดขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ผลงานวิจัย ตลอดจนส่งเสริม พัฒนา และขยายความร่วมมือทางวิชาการ ระหว่างโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า กับสถาบันการศึกษา หน่วยงานงานต่าง ๆ ทั้งภาครัฐ และเอกชน   โดยในปี 2564 นี้ มีสถาบันการศึกษา และหน่วยงานต่าง ๆ เข้าร่วมจัดแสดงโครงการ ผลงาน และงานวิจัย รวม 27 หน่วยงาน ซึ่งสถาบันมาตรวิทยาแห่งชาติ (มว.) ได้นำเสนอผลงานทางวิชาการ ในหัวข้อ “การวัดย่านความถี่สูงเพื่อการสื่อสารยุค 5G” ซึ่งประกอบด้วยโครงการพัฒนาความสามารถทางการวัด 3 โครงการ คือ

  1. ระบบปรับเทียบเวลามาตรฐานผ่านโครงข่ายดิจิทัลและอินเทอร์เน็ต โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งมอบเวลามาตรฐานประเทศไทย (Thailand Standard Time, TST) ไปยังผู้ต้องการใช้งานในแต่ละกลุ่มตามระดับความแม่นยำที่จำเป็น สามารถจัดหมวดหมู่ได้ ดังนี้ (1) การใช้งานทั่วไป ใช้ระดับความแม่นยำย่าน 1 millisecond (2) การใช้งานระดับให้บริการเทคโนโลยีสื่อสาร ใช้ระดับความแม่นยำย่าน 1 microsecond เช่น ระบบสื่อสาร 5G telecom profile และ (3) การใช้งานระดับกำกับดูแลเทคโนโลยีสื่อสารและความมั่นคง ใช้ระดับความแม่นยำย่าน 1 nanosecond เช่น การกำกับตลาดหลักทรัพย์ การกำกับระบบธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์และดิจิทัล การวิจัยและพัฒนาด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ระบบอาวุธ
  2. ระบบการวัดกำลังไฟฟ้าความถี่สูง (Electrical power in high frequency regimes) ที่ครอบคลุมการวัดในย่าน radio frequency และ microwave และ กำลังขยายไปสู่ย่าน millimetrewave ซึ่งจะรองรับระบบเรดาร์/โซน่าร์ การสื่อสารโทรคมนาคม 5G ใยแก้วนำแสง (optical fibre) ระบบระบบอาณัติสัญญาณสำหรับการเดินรถไฟ โดยเฉพาะรถไฟความเร็วสูง (GSM-R)  อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์  การแพทย์และเครื่องมือแพทย์
  3. ระบบการเทียบเวลาด้วยสัญญาณจากระบบดาวเทียมนำทางสากล (Global Navigation Satellite System, GNSS) สำหรับโครงสร้างพื้นฐานด้านการระบุค่าพิกัดและเวลาของประเทศ ใช้ในงานด้านการระบุตำแหน่ง การนำทางและแผนที่ ทั้งทางบก ทางน้ำและทางอากาศ ระบบนี้มุ่งหมายที่จะผนวก หรือประสานเวลา (time synchronisation) ของโครงสร้างพื้นฐานด้านการระบุค่าพิกัดของประเทศกับโครงสร้างพื้นฐานด้านการกำหนดเวลาของประเทศ

โดยทั้งสามระบบนี้ มีมาตรฐานอ้างอิงร่วมกันคือ “มาตรฐานการวัดเวลาและความถี่” และ “มาตรฐานการวัดกำลังไฟฟ้าในรูปของความจุความร้อน”

สามารถ Download แผ่นพับ-การวัดย่านความถี่สูงเพื่อการสื่อสารยุค 5G ได้ที่  http://mx.nimt.or.th/?p=14382

และสามารถ Download Poster ทั้ง 5 แผ่นได้ที่ http://mx.nimt.or.th/?page_id=1598

#มว #สถาบันมาตรวิทยาแห่งชาติ #nimt #นิทรรศการวิชาการ #จปร #โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า #5G #การวัดย่านความถี่สูงเพื่อการสื่อสารยุค5G

CRMA2021 IMG02 781f1     

 

CRMA2021 IMG05 c409e     CRMA2021 IMG06 b8f4b

 

CRMA2021 IMG07 15fd4     CRMA2021 IMG08 c6edf

 

CRMA2021 IMG09 929bd     CRMA2021 IMG10 09b51

 

CRMA2021 IMG11 156e0     CRMA2021 IMG13 a01c1

 

              CRMA2021 IMG14 e6085      CRMA2021 IMG15 476c6               

 

  • Hits: 638

กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) จัดงานเทคโนโลยีและนวัตกรรมของไทย ประจำปี 2564 หรือ “TechnoMart 2021” ผ่านรูปแบบนิทรรศการออนไลน์เสมือนจริง หรือ Virtual Exhibition ภายใต้แนวคิด STI for New Normal ระหว่างวันที่ 27 – 29 กันยายน 2564 โดยจำลองยานอวกาศ (อว.TOS) เสมือนผู้เข้าชมได้ท่องไปในโลกเสมือนจริง เพื่อกระตุ้นความคิดสร้างสรรค์ และตื่นตาไปกับผลงานวิจัย ผลงานด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมของคนไทย ผ่าน BCG โมเดล พร้อมดึงผู้เชี่ยวชาญเข้าร่วมกระตุกต่อมความความคิดสร้างสรรค์ผู้ประกอบการไทยร่วมเปลี่ยนวิกฤติให้เป็นโอกาสสู่ Thailand NEXT Normal ภายใต้ข้อจำกัดของโรคระบาดที่ทั่วโลกกำลังเผชิญอยู่ ด้วยการเสวนา การอบรมเชิงปฏิบัติการ ฟรี !!!! ตลอดงาน รวมถึงนิทรรศการที่รวมหลากหลายเรื่องราวน่ารู้ กับผลงานการสร้างสรรค์กว่า 200 ผลงาน จากนักประดิษฐ์ไทย อาทิ ผลงานด้านสาธารณสุขที่คิดค้นขึ้นโดยนักวิจัยไทย เช่น หุ่นยนต์บนรถเข็นควบคุมทางไกล เพื่อลดความเสี่ยงและเพิ่มระยะห่างระหว่างบุคลากรทางการแพทย์กับผู้ติดเชื้อ และ “หุ่นยนต์ปิ่นโต 2” ที่ใช้งานง่ายผ่านการควบคุมด้วยรีโมทคอนโทรล มีแบตเตอรี่ที่สามารถใช้งานติดต่อกันได้นาน 8 – 9 ชั่วโมง 24 ชม. พร้อมกันนี้ ในงานยังแสดงสินค้า OTOP และสินค้าชุมชมที่ได้รับการพัฒนาด้วยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม กิจกรรมเล่นเกมชิงรางวัล กิจกรรมการประกวดต่างๆ ให้ผู้ที่สนใจได้เข้าเยี่ยมชมตลอด 24 ชั่วโมง

โดย “งาน TechnoMart มีการจัดขึ้นเป็นประจำทุกปี เพื่อเผยแพร่ผลงานด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมของหน่วยงานกระทรวง หน่วยงานเครือข่าย และหน่วยงานพันธมิตรที่เกี่ยวข้อง ซึ่งการจัดงานครั้งนี้กระทรวง อว. พร้อมผลักดันให้เกิดการเจรจาธุรกิจ การพัฒนาผลงานให้ตรงตามความต้องการของตลาด นำไปสู่การสร้างรายได้ และสร้างมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจให้กับประเทศอย่างยั่งยืน และด้วยสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 (COVID-19) ในปีนี้ จึงมีการปรับรูปแบบการจัดงานเป็นการจัดนิทรรศการเสมือนจริงในรูปแบบออนไลน์ ภายในงานประกอบด้วย นิทรรศการเทิดพระเกียรติ พระบิดาแห่งวิทยาศาสตร์ไทย พระบิดาแห่งเทคโนโลยีของไทย และคุโณปการด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม ของในหลวงรัชกาลที่ 4 รัชกาลที่ 9 และรัชกาลที่ 10 และผลงานของกระทรวงฯ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จำนวน 80 หน่วยงาน มีผลงานจัดแสดง มากกว่า 200 ผลงาน

นการนี้ สถาบันมาตรวิทยาแห่งชาติ  (มว.) ร่วมนำเสนอผลงานนิทรรศการในรูปแบบออนไลน์ภายในงานดังกล่าว จำนวน 2 เรื่อง ซึ่งจัดแสดงอยู่ในโซน 03 ผลงานเทคโนโลยีและนวัตกรรม :  ประเภท Food, Agriculture & Bio-tech (อาหาร/เกษตร/เทคโนโลยีชีวภาพ ) และ ประเภท Smart Devices, Robotics & electronics (อิเล็กทรอนิกส์/หุ่นยนต์) ได้แก่ 1.ผลงาน โครงสร้างพื้นฐานทางคุณภาพเพื่อสนับสนุนการพัฒนาสมุนไพรไทย นำร่องด้วยผลิตภัณฑ์ฟ้าทะลายโจร ที่เป็นโครงการที่จะช่วยยกระดับคุณภาพของสมุนไพรไทยให้มีมาตรฐาน มีความปลอดภัย และขายได้ในราคาดี เพื่อมุ่งไปสู่การมีคุณภาพชีวิตที่ของเกษตรกรไทย 2.ผลงาน ชุดระบบเชื่อมต่อข้อมูล (Paperless Measurement) ที่ มว. ได้ทำการพัฒนาอุปกรณ์ชุดระบบเชื่อมต่อข้อมูล (Data Link) ขึ้นมาเพื่อลดความผิดพลาด  และเพิ่มประสิทธิภาพของระบบการวัด  โดยผู้ที่สนใจสามารถเข้าชมงานนิทรรศการได้ตลอด 24 ชม.  และยังสามารถเข้าชม ติดตามข้อมูลของงานได้อย่างต่อเนื่อง ได้ทีเพจ: https://www.facebook.com/TechnoMartThailand/ และเว็บไซต์ : http://technomart2021.com/#index

Screenshot 762 69ce3

   Screenshot 763 02b40     Screenshot 768 98790

Screenshot 764 547da    Screenshot 766 bd125

 

 

 

 

 

  • Hits: 609

สถาบันมาตรวิทยาแห่งชาติ (มว.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เร่งขับเคลื่อน  “โครงการประยุกต์ใช้มาตรวิทยาเพื่อการคัดกรองและป้องกันการติดเชื้อโควิด-19” อย่างต่อเนื่อง โดยคณะผู้บริหารและนักวิจัยของสถาบันฯ ได้ส่งมอบเครื่องทดสอบเครื่องวัดอุณหภูมิร่างกาย (Infrared Thermometer Tester) ให้แก่สถานพยาบาลและหน่วยบริการประชาชน เพื่อใช้เป็นอุปกรณ์ในการทดสอบความถูกต้องของการใช้เครื่องมือวัดอุณหภูมิร่างกาย เพื่อช่วยยับยั้งป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อโควิด -19 พร้อมทั้งร่วมติดตามความคืบหน้า ปัญหาและข้อจำกัดในการใช้เครื่องมือทดสอบดังกล่าว เพื่อนำไปสู่การใช้งานให้เกิดประโยชน์สูงสุด

27 กันยายน 2564 : นางอัจฉรา เจริญสุข ผู้อำนวยการ มว. พร้อมด้วยนายอนุสรณ์ ทนหมื่นไวย รองผู้อำนวยการและทีมงานที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมพิธีส่งมอบ เครื่องทดสอบเครื่องวัดอุณหภูมิร่างกาย (Infrared Thermometer Tester)” อย่างเป็นทางการ ให้กับเจ้าหน้าที่จากสถานพยาบาลและหน่วยบริการประชาชน โดยมีตัวแทนรับมอบในที่ประชุมดังกล่าวจำนวน 3 แห่งได้แก่ 1. คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล 2. บริษัท อาร์เอฟเอส จำกัด โรงพยาบาลรามาธิบดี 3. โรงพยาบาลหนองเสือ พร้อมกันนี้ยังได้ร่วมส่งมอบเครื่องทดสอบเครื่องวัดอุณหภูมิร่างกาย ในรูปแบบออนไลน์ ผ่านระบบ VDO CONFERENCE โดยมีผู้แทนจากหน่วยงานต่างๆ อีกจำนวน 8 แห่ง ดังนี้ 1. ศูนย์เครื่องมือแพทย์ โรงพยาบาลนครพิงค์ 2. คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 3. ศูนย์สนับสนุนบริการสุขภาพที่ 9 จ.นครราชสีมา 4. ศูนย์สนับสนุนบริการสุขภาพที่ 10 จ.อุบลราชธานี 5. ศูนย์เครื่องมือวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี 6. โรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา 7. ศูนย์เครื่องมือแพทย์ โรงพยาบาลพัทลุง และ 8. ศูนย์ซ่อมบำรุงเครื่องมือแพทย์ โรงพยาบาลสงขลานครินทร์

โดยเครื่องทดสอบเครื่องวัดอุณหภูมิร่างกาย (Infrared Thermometer Tester) ที่ทาง มว. ส่งมอบให้กับสถานพยาบาลและหน่วยบริการประชาชนต่างๆ ในครั้งนี้ ได้ผ่านการสอบเทียบและได้รับการรับรอง (Certified) แล้ว ซึ่งจะส่งผลดีต่อการสร้างมาตรฐานในการตรวจคัดกรองอย่างมีประสิทธิภาพ และเสริมสร้างความเชื่อมั่นในการใช้เครื่องวัดอุณหภูมิร่างกายให้แก่ผู้ใช้งาน ตลอดจนสร้างความมั่นใจให้กับประชาชนที่ได้จากการใช้เครื่องมือวัดที่ผ่านการทดสอบความถูกต้องแม่นยำแล้ว เนื่องจากเครื่องมือวัดอุณหภูมิร่างกาย นับว่าเป็นอุปกรณ์สำคัญด่านแรก ที่สถานพยาบาลใช้ในการคัดกรองผู้ติดเชื้อออกจากคนปกติ เพื่อนำไปสู่การรักษาผู้ติดเชื้อโควิด-19 ได้อย่างมีประสิทธิภาพต่อไป และสถาบันยังคงมุ่งมั่นที่จะดำเนินการขยายขีดความสามารถทางการวัด ในโครงการประยุกต์ใช้มาตรวิทยาเพื่อการคัดกรองและป้องกันการติดเชื้อโควิด-19 ให้ครอบคลุมในสาขาเครื่องมือวัดทางการแพทย์ที่มีความจำเป็นเร่งด่วน เพื่อร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการสนับสนุนให้ประเทศของเรากลับเข้าสู่สถานการณ์ปกติได้ในเร็ววัน

Screenshot 776 c8977

 

Screenshot 777 1a392     Screenshot 778 03f33

Screenshot 773 ac34c   Screenshot 774 96388   Screenshot 775 a24bc

 

  • Hits: 573
  • 1
  • 2
เทคโนธานี คลอง 5

แอปพลิเคชั่นทั้งหมดของเทคโนธานี

ios app andriod app 

เทคโนธานี TECHNOTHANI เป็นหน่วยงานของรัฐที่จัดตั้งขึ้นเพื่อขับเคลื่อนการอุดมศึกษาไทย วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ไปสู่มาตรฐานในระดับสากล และเพิ่มอันดับความสามารถการแข่งขันในระดับนานาชาติอย่างยั่งยืน ไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อแสวงหากำไร หากท่านพบว่ามีข้อมูลใดๆ ที่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาปรากฏอยู่ในเว็บไซต์นี้ โปรดแจ้งให้ทราบ เพื่อดำเนินการแก้ปัญหาดังกล่าวโดยเร็วที่สุดต่อไป

© 2021 TECHNOTHANI, Office of the Permanant Secretary , Ministry of Higher Education, Science, Research and Innovation. ALL RIGHTS RESERVED.

ติดตามเราได้ที่   facebook twitter youtube

เทคโนธานี คลอง 5
© 2021 TECHNOTHANI, Office of the Permanant Secretary, Ministry of Higher Education, Science, Research and Innovation. ALL RIGHTS RESERVED.